7/7/54

::ผญาอีสานสามารถแบ่งได้ดังนี้

ผญาภาษิตอีสานแบ่งตามลักษณะของเนื้อหา 
ลักษณะเนื้อหาของผญาภาษิต  ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้แบ่งเนื้อหาของผญาออกเป็นประเภทต่างๆ  หลายประเภทแต่ส่วนใหญ่มีลักษณะเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน  ตามที่ท่านผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายได้จัดแบ่งประเภทผญาตามลักษณะของเนื้อหาไว้นั้นมีความใกล้เคียงกันมาก
คำผญาที่เป็นคำภาษิตคือเป็นข้อความสั้นๆ  แต่เน้นความลึกซึ้ง  และต้องเป็นสอนไปในตัว  หรือให้เกณฑ์อันใดอันหนึ่ง  ที่แสดงถึงความเป็นไปของโลกหรือชี้ให้เห็นสัจจะแห่งชีวิต  ผญาภาษิตอีสานนั้นเป็นทั้งปรัชญาธรรมและปัญญาธรรม  ซึ่งเป็นคำสอนของนักปราชญ์  อันแฝงไปด้วยคติ  แง่คิด  เป็นคำกล่าวที่เป็นหลักวิชา  อันแสดงถึงความรอบรู้ความสามารถของผู้พูด  ผญาที่เป็นภาษิต  ใช้พูดสั่งสอนหรือเตือนใจใช้ในโอกาสเหมือนภาษิตภาคกลาง  เช่น  ต้องการสั่งสอนบุตรธิดา  ท่านก็เล่านิทานเป็นเชิงอุทาหรณ์แทรกคติธรรม  และภาษิตที่เป็นผญาเตือนใจทำให้ผู้ฟังเกิดความซาบซึ้งประทับใจและจดจำไว้เป็นแบบอย่างของการครองชีวิตต่อไป
ผญาภาษิตนี้มักไม่กล่าวสอนอย่างตรงๆ  ทั้งนี้เพราะคนอีสานนิยมสอนบุตรธิดาของตนโดยทางอ้อม  ไม่ได้สอนโดยทางตรง  เมื่อท่านจะสอนในเรื่องใดท่านมักจะผูกเป็นคำอุปมาอุปไมย  โดยกล่าวถึงข้อเท็จจริงคือความเป็นอยู่และกิริยาอาการหรือความประพฤติของคนหรือสัตว์  ไม่ว่าในทางดีหรือทางชั่วอันเป็นไปในทางรูปธรรม  เพื่อให้เกิดแง่คิดในทางนามธรรมเป็นข้อเปรียบเทียบกับรูปธรรม  ผญาภาษิตเมื่อนำมาจัดแบ่งตามลักษณะของเนื้อหาแล้ว ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้แบ่งเนื้อหาของผญาออกเป็นประเภทต่างๆ  หลายประเภทแต่ส่วนใหญ่มีลักษณะเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน ตามที่ท่านผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายได้จัดแบ่งประเภทผญาตามลักษณะของเนื้อหาไว้นั้นมีความใกล้เคียงกันมาก  โดยสรุปแล้วมีเนื้อหาของคำผญาได้เป็น  ๔  ประเภท คือ
๑ )  ผญาภาษิต
คำผญาที่เป็นคำภาษิตคือเป็นข้อความสั้นๆ  แต่เน้นความลึกซึ้ง  และต้องเป็นสอนไปในตัว  หรือให้เกณฑ์อันใดอันหนึ่ง  ที่แสดงถึงความเป็นไปของโลกหรือชี้ให้เห็นสัจจะแห่งชีวิต  ผญาภาษิตอีสานนั้นเป็นทั้งปรัชญาธรรมและปัญญาธรรม  ซึ่งเป็นคำสอนของนักปราชญ์  อันแฝงไปด้วยคติ  แง่คิด  เป็นคำกล่าวที่เป็นหลักวิชา  อันแสดงถึงความรอบรู้ความสามารถของผู้พูด  ผญาที่เป็นภาษิต  ใช้พูดสั่งสอนหรือเตือนใจใช้ในโอกาสเหมือนภาษิตภาคกลาง  เช่น  ต้องการสั่งสอนบุตรธิดา  ท่านก็เล่านิทานเป็นเชิงอุทาหรณ์แทรกคติธรรม  และภาษิตที่เป็นผญาเตือนใจทำให้ผู้ฟังเกิดความซาบซึ้งประทับใจและจดจำไว้เป็นแบบอย่างของการครองชีวิตต่อไป
ผญาภาษิตนี้มักไม่กล่าวสอนอย่างตรงๆ  ทั้งนี้เพราะคนอีสานนิยมสอนบุตรธิดาของตนโดยทางอ้อม  ไม่ได้สอนโดยทางตรง  เมื่อท่านจะสอนในเรื่องใดท่านมักจะผูกเป็นคำอุปมาอุปไมย  โดยกล่าวถึงข้อเท็จจริงคือความเป็นอยู่และกิริยาอาการหรือความประพฤติของคนหรือสัตว์  ไม่ว่าในทางดีหรือทางชั่วอันเป็นไปในทางรูปธรรม  เพื่อให้เกิดแง่คิดในทางนามธรรมเป็นข้อเปรียบเทียบกับรูปธรรม  ผญาภาษิตนี้ส่วนมาจากคำสอนในหนังสือวรรณคดีเรื่องต่างๆ
๒)  ผญาอวยพร
การอวยพรมักจะใช้ในโอกาสต่างๆ  ส่วนมากเป็นคำพูดของคนสูงอายุ  ผู้อาวุโสหรือคนรักใคร่นับถือกันและเจตนาดีต่อกัน  พูดเพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่ผู้ฟัง  หรือผู้รับพร  เพื่อให้กำลังใจ  และหวังให้ผู้ฟังได้รับความชื่นใจ  ความสบายใจอาจใช้ในพิธีต่างๆเช่นในการสู่ขวัญ  ผูกข้อต่อแขน  หรือในโอกาสอื่นๆแล้วแต่ความเหมาะสม  ผญาอวยพรเป็นบ่อเกิดสำคัญทางสุนทรียภาพอันเป็นอาหารทางจิตใจ  ผญาอวยพรนี้ยังสะท้อนถึงความเชื้อของคนในท้องถิ่นภาคอีสานได้เป็นอย่างดี 
๓)  ผญาพังเพย
คำผญาพังเพยนี้มักจะกล่าวสอนขึ้นมาลอยๆ  เป็นคำกลางๆเพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่อง  คำพังเพยคล้ายสุภาษิต  มีลักษณะเกือบเป็นสุภาษิต  เป็นคำที่มีลักษณะติชม  หรือแสดงความคิดเห็นอยู่ในตัว  เช่น  ทำนาบนหลังคน  คำพังเพยไม่เป็นสุภาษิตเพราะไม่เป็นคำสอนแน่นอน  และไม่ได้เน้นคำสอนในตัวเอง
ลักษณะของคำพังเพยอีสานนี้เรียกอีกอย่างว่า  คำโตงโตยหรือยาบสร้อย  บางท้องถิ่นนิยมเรียกว่า  ตวบต้วยหรือยาบเว้า  เป็นข้อความในเชิงอุปมาอุปไมยที่ไพเราะสละสลวยและมีความหมายลึกซึ่งคมคายเช่นเดียวกับผญาภาษิต  บางคำมีความหมายลึกซึ้งเข้าใจยากกว่าผญาภาษิตมาก  ต่างก็กับผญาภาษิตตรงที่คำพังเพยหรือยาบสร้อยนี้ไม่เป็นคำสอนเหมือนผญาภาษิต  เป็นเพียงคำเปรียบเทียบที่ให้ข้อเตือนใจหรือเตือนสติให้คนเรานึกถึงทางดีหรือทางชั่วนอกจากเป็น
๔)  ผญาเกี้ยว
เป็นคำผญาที่หนุ่มสาวใช้พูดจากกัน  เป็นทำนองเกี้ยวพาราสีในโอกาสพิเศษบ้าง  เพื่อเป็นสื่อให้ฝ่ายหนึ่งเข้าใจในความนัยส่วนลึกของหัวใจตน  ผญาเกี้ยวนี้มีความหมายเกี่ยวข้องถึงประเพณีของท้องถิ่นอีสานด้วย  หรือผญาประเภทนี้มีบ่อเกิดมาจากประเพณีต่างๆของท้องถิ่นอีสานนั้นเอง  คือชาวอีสานในอดีตมีประเพณีเล่นสาวในวาระต่างๆ  การที่หนุ่มสาวได้ใช้คำผญาพูดกันเพื่อเป็นการทดสอบภูมิปัญญาของอีกฝ่ายหนึ่งก็ได้  หรือเพื่อแสดงถึงความรักจริงหวังแต่ง  หรือแสดงให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องมีความซื่อสัตย์ต่อคำพูดของตนเองดังตัวอย่าง  ผู้ชายจะชอบพูดว่า “สัจจาผู้หญิงนี้มีหลายก้าน   ชาติดอกเดื่อมันบ่บานอยู่ต้นอ้ายบ่เซื่อคน ดอกน่า” (คำพูดของหญิงไม่เคยจริงสักครั้งเหมือนดอกมะเดื่อ ไม่บานอยู่บนต้นคนย่อมไม่เห็นประจักษ์ความจริง)  ผู้หญิงก็จะโต้ตอบมาในเชิ่งเปรียบเทียบว่า  “กกจิกมันมีหลายก้าน  กกตาลมันมีหลายง่า  สัจจาน้องได้ว่าแล้ว  สิมายม้างบ่เป็น ดอกอ้าย”  (ต้นจิกมีกิ่งก้านมากมาย ต้นตาลก็มีหลายแขนง  แต่ว่าคำพูดน้องนี้ได้กล่าวแล้วก็มั่นคงไม่แปรผัน)  คำพูดทั้งสองฝ่ายต่างก็สะท้อนถึงจริยธรรมเสมอ  คือมั่นคงในคำพูดของกันและกัน  มีความซื่อสัตย์ต่อกัน  การคบกันก็จะพัฒนาเกิดเป็นความรักจริง

ฺบ้านดอนเรดิโอออนไลน์

ส่งข่าวถึงกันและกัน

Recent Posts

www.bandonradio.blogspot.com = คลื่นแห่งสาระบันเทิง ..

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons